งานวิจัย ของ ฮิเดกิ ชิรากาวะ

ขณะที่ทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียวนั้น ชิรากาวะได้ค้นพบพอลิอะเซทิลีนซึ่งมีลักษณะปรากฏคล้ายกับโลหะ เมื่ออลัน แมกเดอร์มิดมาเยี่ยมสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียวในปี พ.ศ. 2518 แมกเดอร์มิดสนใจผลการค้นพบนี้ของชิรากาวะมาก และได้ชักชวนให้ชิรากาวะมาเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอกที่ห้องปฏิบัติการของเขาที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียในปีถัดมา ทั้งสองร่วมกับนักฟิสิกส์อีกหนึ่งคนคืออลัน ฮีเกอร์ได้ร่วมกันพัฒนาคุณสมบัติการนำไฟฟ้าของพอลิอะเซทิลีน ซึ่งในปี พ.ศ. 2520 พวกเขาพบว่าเมื่อนำพอลิเมอร์ไปทำปฏิกิริยา (โดป) ด้วยไอของไอโอดีนจะได้พอลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติการนำไฟฟ้าดีขึ้น[2][3] ซึ่งนำไปสู่รางวัลโนเบลสาขาเคมีที่ได้รับร่วมกันในปี พ.ศ. 2543

ในปี พ.ศ. 2522 ชิรากาวะดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยสึกูบะ ก่อนจะเลื่อนชั้นขึ้นเป็นศาสตราจารย์ในอีกสามปีถัดมา

ใกล้เคียง

ฮิเดกิ โทโจ ฮิเดกิ ชิรากาวะ ฮิเดกิ ยูกาวะ ฮิเดกิ โทดากะ ฮิเดกิ โมริ ฮิเดกัซ ฮิมารูยะ ฮิเดกาซุ อิจิโนเซะ ฮิเงกิ โนะ เก็งเกียว โตะ นารุ ไซเกียว เกโด ลาสต์บอส โจโอ วะ ทามิ โนะ ทาเมะ นิ สึกูชิมาซุ